ไตรโครเดอร์มา เชื้อราดีจัดให้

ไตรโครเดอร์มา จัดเป็นเชื้อราชั้นสูง เจริญเติบโตได้ดีในดิน ตลอดจนสารอินทรีย์ต่างๆตามธรรมชาติเช่น เศษซากพืช ซากสัตว์ รวมทั้งจุลินทรีย์ เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราที่เป็นปฏิปักษ์ หรือเป็นศัตรูกับเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคพืชหลายชนิด ช่วยป้องกัน และกำจัดโรคใบหงิก โรครากเน่า โรคโคนเน่า โรคกิ่งเน่า โรคใบจุด โรคเถายุบ โรคเถาเหี่ยว โรคราสนิม โรคราน้ำค้าง และโรคพืชจากเชื้อราอีกหลายชนิด

เชื้อไตรโครเดอร์มาเหมาะพืชทุกชนิด เช่น ข้าว ส้ม ทุเรียน มะนาว ผักทุกชนิด พริก ถั่ว มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง แตง กล้วยไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ พืชที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิก และวัสดุไร้ดิน

ประโยชน์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา

1.ช่วยลดและทำลายการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อพืช ยับยั้งและทำลายการงอกของสปอร์เชื้อร้าย แข่งขัน แย่งอาหารเพื่อการเจริญของเส้นใยจากเชื้อโรคพืช รบกวนการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อพืช ทำให้เชื้อโรคพืชนั้นอ่อนแอ ตาย ไม่สามารถทำอันตรายต่อพืชได้

2.ทำลายเชื้อที่ทำให้เกิดโรคในพืช ไตรโคเดอร์มาทำลายเส้นใยของเชื้อราสาเหตุของโรคพืชโดยการพันรัดและแทง ทำลายโครงสร้างที่เชื้อโรคสร้างขึ้นสำหรับการขยายพันธุ์ และ ไตรโคเดอร์มาสามารถสร้างสารปฏิชีวนะ สารพิษ และน้ำย่อย (เอนไซน์) เพื่อหยุดยั้งหรือทำลายเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคพืชได้

3.ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตของพืช ไตรโคเดอร์มาป้องกันระบบรากพืชจากการเข้าทำลายของเชื้อรา สาเหตุของโรคพืช ทำให้ระบบรากพืชสมบูรณ์แข็งแรง ดูดซึมแร่ธาตุและสารอาหารได้ดียิ่งขึ้น

4.เชื้อราไตรโคเดอร์มา มีบทบาท ในการผลิตสารเร่งการเจริญเติบโตของพืช ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี

5.เชื้อราไตรโคเดอร์มาช่วยให้เมล็ดงอกและเจริญเติบโตดี และป้องกันโรคติดต่อที่ปนเปื้อนมากับเมล็ดพันธุ์พืช

6.ช่วยเพิ่มความต้านทานโรคของพืช ไตรโคเดอร์มาทำให้พืชสร้างกระบวน การผลิตสารประเภทเอนไซม์ หรือ โปรตีน ซึ่งมีส่วนช่วยให้พืชมีความแข็งแรง ต้านทานต่อเชื้อโรคได้ดียิ่งขึ้น

เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นจุลชีพที่เป็นปฏิปักษ์ ใช้ในการป้องกันโรคพืช ไม่เป็นอันตราต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม รวมถึงไม่ตกค้างในพืช และในดิน สามารถพ่นตอนเย็น และเก็บผลผลิตได้ตอนเช้าอย่างปลอดภัย

วิธีการใช้ไตรโคเดอร์มา

1. หัวเชื้อไตรโคเดอร์มา ชนิดน้ำ 100 มล. ผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่น และรดราดทางดิน

2. ควรฉีดพ่นในเวลาเย็นถึงค่ำ ที่แสงแดดไม่แรงเกินไป

สำหรับขยายทำเป็นเชื้อสด เทหัวเชื้อ 1 ช้อน ลงบนอาหาร (ข้าวสาร ข้าวเปลือก ปลายข้าว ข้าวกล้อง ข้าวเหนียว ข้าวโพดบดตก หรือ ข้าวเหนียวที่ผ่านการหุงหรือนึ่งแล้ว) หัวเชื้อให้ผลิตเชื้อสดได้ 10-15 กก. การนำเชื้อสดที่ผลิตได้ไปใช้

1.ใส่คลุกเมล็ด

2.ใช้แช่เมล็ดก่อนปลูกอย่างน้อย 30 นาที

3.ใช้แช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูกอย่างน้อย 30 นาที

4.ใช้คลุกหรือแช่หัวพันธุ์ก่อนลงปลูก

5.ใช้ผสมปุ๋ยหมักหว่านลงดิน

6.ผสมดินในหลุมปลูก

7.ใช้ผสมน้ำพ่นต้นกล้าในกระบะเพาะหรือแปลงปลูก

8.ฉีดพ่นบนใบ ดอก ผล

9.พ่นลงดินต้พุ่ม

10.ให้พร้อมกับระบบการให้น้ำ